ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 
THAIWARE.COM | ไทยแวร์ถามตอบ
 
 
Add ตั้งคำถาม

แบ่งปัน
คนดู
1,075
 
ตอบ
0

0

 โหวตให้คะแนนดี  ดี  โหวตให้คะแนนแย่  แย่

ถามว่า >



การโฆษณาแบบว่า ทาแล้วขาวไรพวกนี้ ผิดกฎหมายนะจ๊ะ อ้างอิงตาม



พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558

มาตรา 41 การโฆษณาเครื่องสำอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือลักษณะของเครื่องสำอาง

ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม

(1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง

(2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม

(3) ข้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มิใช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสำอาง

(4) ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบำรุงกาม

(5) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมหรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ

(6) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน

(7) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตามวรรคสอง (1)



หรือจะเข้าไปดู พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ที่ link นี้

http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law86-080958-5.pdf



โฆษณาอาหาร ยา เครื่องสำอาง แบบนี้ผิดกฎหมาย? มาดูกันนนนน! ทําให้ผิวขาวขึ้นภายใน.....วัน ลดความอ้วน ลดไขมันส่วนเกิน หรือรักษาโรคได้ครอบจักรวาล ปวดขาปวดเข่าก็หาย เบาหวาน มะเร็ง หรือกินแล้วเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความแข็งแกร่ง กระตุ้นอารมณ์ อกฟู รูฟิต ระงับกลิ่น หน้าอกเต่งตึง สามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรือหายขาด และสามารถรักษาโรคเรื้อรัง ร้ายแรง เช่น เบาหวาน มะเร็ง อัมพาต โรคหัวใจ ฯลฯ 



#หากเจอคำพวกนี้ให้สังเกตได้เลยว่าผิดกฎหมาย 

#โฆษณาอาหารยาเครื่องสำอางเกินจริงหลอกลวง



----------------------------------------------------------------------



15 คำห้ามแพทย์โม้โฆษณา

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล ซึ่งออกตามมาตรา 38 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดว่า ห้ามโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จหรือโอ้อวด โดยใช้บังคับกับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สังกัดของหน่วยงานราชการ ประกาศดังกล่าว กำหนด 18 ข้อห้ามโฆษณาสถานพยาบาลในลักษณะ ดังนี้ 



1. ห้ามใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่ไม่มีมูลความจริงทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีลักษณะหลอกลวงหรือปกปิดความจริงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง 



2. การใช้ข้อความทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่ามีบุคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์แต่กลับไม่มีให้บริการ 



3. การใช้สถาบัน หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล ที่ไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานรัฐ 



4. การโฆษณาบริการโรคที่ไม่มีอยู่ในสาขาที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตร 



5. การอ้างอิงรายงานวิชาการ ผลงานวิจัย สถิติ โดยข้อมูลที่อ้างอิงไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ



6. การใช้ข้อความหรือรูปภาพ โอ้อวดเกินจริงหรือข้อความที่กล่าวอ้างหรือบ่งบอกว่าของตนดีกว่า เหนือกว่า ดีที่สุด รายแรก แห่งแรก รับรองผล 100% หรือการเปรียบเทียบหรือข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าการบริการของสถานพยาบาลแห่งนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า เหนือกว่าหรือสูงกว่าที่อื่น 



7. การโฆษณากิจการสถานพยาบาลหรือการโฆษณาความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลคุณภาพหรือประสิทธิผล สรรพคุณ กรรมวิธีหรือเปรียบเทียบผลก่อน - หลังในทำนองให้เข้าใจผิด 



8. การใช้ชื่อสถานพยาบาลหรือข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ตรงกับการรับอนุญาต 



9. การโฆษณาสถานที่ซึ่งไม่ใช่เป็นของสถานพยาบาล 



10. การโฆษณาด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน



11. การใช้ภาพหรือเสียงที่ไม่เหมาะสมสร้างความหวาดกลัว หรือมีลักษณะเป็นการส่อไปในทางลามกอนาจาร กระตุ้นหรือยั่วยุทางกามารมณ์ 



12. การใช้ภาพหรือเสียงโดยไม่สุภาพหรือแสดงอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย 



13. การให้ร้าย เสียดสี หรือทับถมสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น 



14. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม 



15. การโฆษณาที่รวมอยู่กับข้อความถวายพระพร หรือข้อความอย่างอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เว้นแต่ชื่อของสถานพยาบาลหรือผู้ประพันธ์บทความดังกล่าว 



16. การโฆษณาการให้บริการฟรี



17. การโฆษณาที่จัดให้มีการแถม แลกเปลี่ยน ให้สิทธิประโยชน์ รางวัล หรือการเสี่ยงโชค จากการรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาล 



18. ห้ามการให้ส่วนลดค่าบริการหรือค่ารักษาพยาบาล เว้นแต่ลดเพื่อการอนุเคราะห์บุคคลด้อยโอกาส ลดต่อสมาชิกกลุ่มบุคคลหรือสถาบันหรือองค์กรเป็นการแจ้งให้ทราบเฉพาะกลุ่มเท่านั้น 





ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท นับแต่วันที่ฝ่าฝืน จนกว่าจะระงับการโฆษณา





ในส่วนของแพทย์ ตามประกาศแพทยสภา ที่ 50/2549 เรื่อง คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา ออกบังคับใช้กับแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 กำหนดคำที่ห้ามแพทย์ใช้ในการโฆษณา 15 คำเบื้องต้น ดังนี้ 



1. คำว่า เพียง เช่น เพียง 4,000 บาท ต่อ ครั้ง 



2. คำว่า เท่านั้น เช่น รักษาครั้งละ 500 บาท เท่านั้น 



3. คำว่า พิเศษ เช่น พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต ค่ารักษา



4. คำว่า เฉพาะ เช่น ราคานี้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น 



5. คำว่า ล้ำสมัย หรือ เช่น ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แห่งเดียว/แห่งแรกในประเทศไทย 



6. คำว่า นำสมัย เช่น อุปกรณ์ที่นำสมัยในการให้การรักษา 



7. คำว่า ราคาเดิม เช่น เสริมจมูก ตกแต่งใบหน้า 3,000 บาท จากราคาเดิม 4,000 บาท



8. คำว่า ครบวงจร เช่น โดยทางศูนย์ให้บริการแบบครบวงจร การแสดงราคาเปรียบเทียบ เช่น จากเดิม 6,000 บาท เหลือ 4,000 บาท หรือการแสดงราคาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่น เช่น โรงพยาบาล น. ราคาโปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา 3,000 บาท แต่โรงพยาบาล ร.โปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา 2,000 บาท การใช้คำว่า ปกติ กับ เหลือ เช่น ปกติ ราคา 500 บาท จองวันนี้ เหลือ 300 บาท โดยสิทธิ์นี้ใช้ได้ จนถึงสิ้นเดือน 



9. คำว่า ฟรี เช่น จองวันนี้แถมฟรี ตรวจความดันปัสสาวะ ฯลฯ .



10. คำว่า สวยจริง จริงบอกต่อ 



11. คำว่า อยากสวย สวยที่ 



12. คำว่า งดงามที่... มีเสน่ห์ที่... 



13. คำว่า สวยเหมือนธรรมชาติที่...



14. คำว่า เหนือกว่า / สูงกว่า 



15. คำว่า โรค...รักษาได้ (ต้องมีข้อมูลทางวิชาการ 80% ขึ้นไป ว่าโรคดังกล่าวสามารถรักษาหายได้) 





ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และเพิกถอนใบอนุญาตฯ



ที่มา : http://www.komchadluek.net/news/edu-health/223391



---------------------------------------------------





ถึงคิวสื่อออนไลน์  "กสทช. – อย." ตรวจเข้มโฆษณาเกินจริง



ในวันที่ 15 พ.ค.นี้ทาง กสทช. กับทาง อย. จะเริ่มตรวจสอบเนื้อหาโฆษณาที่ผิดกฏหมาย และโฆษณาเกินจริงทางเวบไซต์ เพื่อระงับการเผยแพร่โฆษณาดังกล่าวทางสื่อออนไลน์ หลังจากที่ผ่านมาตรวจสอบเฉพาะการโฆษณาผ่านหน้าจอโทรทัศน์ และวิทยุเท่านั้น



การดำเนินการครั้งนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กสทช. และเจ้าหน้าที่ อย. ซึ่งปัจจุบันทาง อย. ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมกับ กสทช. 6 คน แต่ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.เป็นต้นไป จะส่งเจ้าหน้าที่มาเพิ่มอีก 6 คน เพื่อตรวจสอบทางอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปด้วย



ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบนั้น จะเป็นการเปิดเวบไซต์ต่าง ๆ และการค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด อาทิเช่น ยาลดความอ้วน ยาลดน้ำหนัก ฯลฯ และเมื่อทางเจ้าหน้าที่ อย. ตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาผิดกฎหมาย หรือโฆษณาเกินจริง จะแจ้งเป็น URL และส่งต่อให้ทาง กสทช. แจ้งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ระงับเนื้อหาหรือโฆษณาจาก URL นั้นภายใน 2-3 วัน



หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ให้ความร่วมมือ จะมีโทษทางปกครอง คือ ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท และจำคุกไม่เกิน 1 ปี



ที่มา : https://www.marketingoops.com/news/biz-news/nbtc/




ถามเมื่อ 25 พฤษภาคม 2561 00:53:09


ตอบคำถาม 

ตอบคำถาม

 คุณจำเป็นต้องเป็นสมาชิกจึงจะสามารถตอบคำถามได้
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
หรือ