ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
 
THAIWARE.COM | ไทยแวร์ถามตอบ
 
 
Add ตั้งคำถาม

แบ่งปัน
คนดู
1,220
 
ตอบ
0

0

 โหวตให้คะแนนดี  ดี  โหวตให้คะแนนแย่  แย่

ถามว่า >

เนื่องจากภาพยนตร์ที่สนใจศึกษานอกเหนือ จากเป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์แล้ว ยังถือเป็นภาพยนตร์การเมืองอีกด้วย ดัง นั้น จึงขอนิยามความหมายของภาพยนตร์ 14 ตุลา ให้ชัดเจนพร้อมทั้งเสนอ ทัศนะต่อการมองภาพยนตร์ควบคู่กันไป ในที่นี้ ผู้เขียนจะนิยามความหมายภาพยนตร์ประวัติศาสตร์การเมือง 14 ตุลา ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ความใกล้ชิดของสถานการณ์และยุคของ การผลิต กลุ่มแรกมุ่งเฉพาะภาพยนตร์ที่ผลิตในยุคนั้นและอาจหมายรวมถึง ภาพยนตร์ในยุคใกล้เคียง บางครั้ง นักวิชาการมองว่าเป็น "ภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคม" กลุ่มที่สอง ภาพยนตร์ที่มิได้ผลิตในยุคนั้นแต่พูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา และกลุ่มที่สามภาพยนตร์ที่มิได้พูดถึงเหตุการณ์นั้นแต่มีนัยยะแฝง รายละเอียดดังต่อไปนี้



1. ภาพยนตร์ 14 ตุลา ที่ผลิตในยุคนั้น งานของนักวิชาการส่วนใหญ่ เช่น ทวีป วรดิลก และคนอื่น (2539) และ อัญชลี ชัยวราพร (2540) จะให้ความสำคัญต่อภาพยนตร์ 14 ตุลา 16 ที่ผลิต ในยุคนั้นวมถึงภาพยนตร์ที่เกิดในช่วงเวลาใกล้คียงเหตุการณ์6 ตุลา 19 และ ช่วงหลังอีกประมาณ 4-5 ปี (2525) พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงความเป็นมา กลุ่มผู้ สร้าง เนื้อหาของภาพยนตร์ ในแง่ของความเป็นมา อัญชลี ชี้ให้ห็นว่า ภาพยนตร์ในยุคนี้เริ่มต้นตั้ง แต่การได้รับอิทธิพลจากภาพยนตร์ทศวรรษที่ 1960 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น ยุคที่คนหนุ่มสาวของสหรัฐฯ เริ่มท้าทายและตั้งคำถามต่อระบบสังคม โดย เฉพาะอย่างยิ่งสงครามเวียดนาม เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Graduate และ One Flew Over the Cuckoo's Nest เมื่อภาพยนตร์เหล่านี้แผ่ขยายสู่คนรุ่น ใหม่ในสังคมไทย ประกอบทั้งบรรยากาศการเมืองทั้งภายในและภายนอกยุค2510 เป็นต้นมา เริ่มคุกรุ่นด้วยความขัดแย้งของผู้นำและลัทธิคอมมิวนิสต์ สง ผลให้ภาพยนตรีไทยเปลี่ยนแปลงไปจากภาพยนตร์ 16 มม, ที่ผูกขาดเนื้อหา ประภท "น้ำเน่า" เริ่มได้รับการทบทวน นักวิชาการด้านภาพยนตร์เชื่อว่า ภาพ ยนตร์เรื่อง "โทน" (2513) ของเปี๊ยก โปสเตอร์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการผจญโชค ชะตาของคนชนบทในกรุง ถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักสำคัญให้ภาพยนตร์ ไทยเปลี่ยนกระแสสู่ "การสะท้อนภาพสังคม" ฝั่งผู้ผลิต นักทำหนังยุคนี้ก้าวสูวงการพร้อมพกอุดมการณ์มาเต็ม กระเป้า ดังเช่น ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล กับภาพยนตร์สะท้อนปัญหาของหมอ อุดมการณ์สูงที่ต้องการต่อต้านคอรัปชั่นเรื่อง "เขาชื่อกานต์" (2516) และสักกะจารุจินดา กับภาพยนตร์เรื่อง "ตลาดพรมจารี" อีกทั้งคลื่นลูกใหม่ในแวดวง หนามเตยในยุคต่อ ๆ มา เช่น ยุทธนา มุกดาสนิท (เทพธิดาบาร์ 21, 2521) สร สีห์ ผาธรรม (ครูบ้านนอก,2521) สุชาติ วุฒิชัย (นค้างหยดเดียว,2521) มานพ อุดมเดช (ประชาชนนอก, 2522) บัณฑิต ฤทธิ์กล (คนดีที่บ้านด่าน, 2528) สำหรับเนื้อหาภาพยตร์ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 16 โดยตรง นั้น มีภาพยนตไม่กี่เรื่อง เช่น "ทพธิดาโรงแรม" (2517) และ "ทองปาน" (2518-9)



สนับสนุนบทความโดย 


slotxo



2. ภาพยนตร์ที่มิได้ผลิตในยุคนั้นแต่พูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา กล่าวได้ว่าภาพยนตร์ที่พูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ที่ผลิตในเหตุการณ์ ได้รับการยกย่องในฐานะภาพยนตร์ที่สะท้อนสังคมได้อย่างดียิ่ง ในทางกลับกัน ภาพยนตร์ที่เรียงร้อยเรื่องราวของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 ที่ผลิต ในยุคหลัง เช่น "วลาในขวดแก้ว" (2533) ของสามผู้กำกับ ประยูร วงษ์ชื่น อมรศรี เย็นสำราญ และอนุกูล จาโรหก และภาพยนตร์เรื่อง "14 ตุลา: สงคราม ประชาชน" (2543) โดยบัณฑิต ฤทธิ์กล กลับประสบชะตากรรมในด้านตรงกัน ข้าม กล่าวคือ ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบระคนกัน ในด้าน บวก จะมองความหยายามในการสะท้อนเนื้อหาของเหตุการณ์ 14 และ 6 ตุลา และภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างพากันกวาดรางวัลจากสถาบันภาพยนตร์หลาย แห่ง แต่ในด้านลบนั้น ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องถูกตั้งข้อสงสัยต่อเนื้อหาที่นำ เสนอ ทั้งในแง่มุมการผลิตซ้ำจากนวนิยาย และความเป็นจริง




ถามเมื่อ 17 เมษายน 2563 11:53:37 | แก้ไข 17 เมษายน 2563 11:53:47


ตอบคำถาม 

ตอบคำถาม

 คุณจำเป็นต้องเป็นสมาชิกจึงจะสามารถตอบคำถามได้
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
หรือ